ขอแค่ 5 นาที! นักวิจัยเคมบริดจ์ค้นพบวิธีการที่จะชาร์จแบตมือถือและแลปท็อปเต็มได้ในเวลาสั้น ๆ
782 VIEWS
June 30, 2021
news
ขอแค่ 5 นาที! นักวิจัยเคมบริดจ์ค้นพบวิธีการที่จะชาร์จแบตมือถือและแลปท็อปเต็มได้ในเวลาสั้น ๆ
"ร...เร็ว! นักวิจัยเฝ้าสังเกตและพัฒนาแบตเตอรี่ยุคใหม่ที่จะชาร์จเต็มได้ในเวลา 5 นาทีหรือน้อยกว่า"
นักวิจัยเผยความก้าวหน้าในการวิจัยแบตเตอรี่ที่สามารถลดเวลาชาร์จแลปท็อป และโทรศัพท์ในเวลาเพียง 5 นาทีหรือน้อยกว่านั้น นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้ค้นพบการทำงานภายในของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ซึ่งจะสามารถทะลุขีดจำกัดความเร็วในการชาร์จแบตเตอรี่ไปยิ่งกว่าเดิม รวมถึงเป็นเทคโนโลยีที่ราคาต่ำ
ซึ่งในงานวิจัยนั้นยังค้นพบอีกว่าแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อีกมากมายซึ่งนั่นอาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจนมนุษย์นั้นเลิกใช้พลังงานเชื้อเพลิงเลยก็ได้
เราค้นพบว่าเมื่อตอนที่ชาร์จอยู่ความเร็วจะขึ้นอยู่กับลิเธียมไอออนที่สามารถทะลุผ่านอนุภาคของวัสดุ และเมื่อคายประจุเหล่านั้นออกไอออนก็จะแทรกกระจายอยู่ ซึ่งหากสามารถควบคุมกลไกนี้ได้ ก็จะสามารถเพิ่มความเร็วในการชาร์จโดยใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนได้เป็นอย่างมาก
"แบตเตอรี่ที่ดีคือแบตเตอรี่ที่มีความจุสูง และชาร์จเร็ว"
ดร.คริสตอฟ ที่ปรึกษาในงานวิจัยได้กล่าวว่า "เทคนิคที่ใช้ในห้องแล็บนี้ทำให้เราเปลี่ยนแปลงความเร็วของการชาร์จได้อย่างมาก การสังเกตแบบเรียลไทม์นั้นให้ความรู้สึกที่น่าประหลาดใจจริงๆ เทคนิคนี้อาจเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาแบตเตอรี่รุ่นต่อไป"
แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสามารถใช้ในอุปกรณ์ไฟฟ้าได้เกือบทุกประเภท ตั้งแต่รถยนต์ไฟฟ้าไปจนถึงสมาร์ทโฟน การชาร์จที่รวดเร็วจะเป็นจุดขายสำคัญ แต่ยังจำเป็นต้องพัฒนาให้มีความจุสูง เพื่อจะสามารถทดแทนพลังงานแบบเดิมได้
"แบตเตอรี่ที่ดีกว่าคือแบตเตอรี่ที่สามารถเก็บพลังงานได้มาก หรือแบตเตอรี่ที่สามารถชาร์จได้เร็วกว่ามาก ซึ่งแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนนั้นจะสามารถตอบโจทย์ แต่เพื่อให้แบตเตอรี่ดีขึ้น เราต้องเข้าใจกลไกทั้งหมดว่าเกิดอะไรขึ้นภายในแบตเตอรี่บ้าง"
"เพื่อปรับปรุงแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนและทำให้ชาร์จเร็วขึ้น จำเป็นต้องดูสิ่งที่เกิดขึ้นภายในแบตเตอรี่แบบเรียลไทม์"
นักศึกษาระดับปริญญาเอก และเจ้าของงานวิจัย อลิส แมรี่เวทเทอร์ กล่าวว่า "ในการศึกษาสิ่งที่เกิดขึ้นภายในแบตเตอรี่จริงๆ คุณต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ทำสองสิ่งพร้อมกัน นั่นคือต้องสังเกตการชาร์จและการคายประจุของแบตเตอรี่ในช่วงหลายชั่วโมง ในขณะเดียวกันก็ต้องจับภาพกระบวนการที่รวดเร็วมากที่เกิดขึ้นภายในแบตเตอรี่ไปด้วย"
ที่มา : Metrotech
Niponpan Sasidhorn